Translate

วันศุกร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

วัดกลางบางซื่อ เวียนเทียนวันมาฆบูชากันครับ

ในวันมาฆบูชา ปีนี้ตรงกับวันวาเลนไทน์ พอดีเลย
ระหว่างเดินทางกลับบ้าน เป็นเวลาประมาณ 1 ทุ่ม ซึ่งปกติทั่วไป
จะเป็นเวลาเวียนเทียนในวันสำคัญๆเช่นนี้
เลยแวะเข้าวัดกลางบางซื่อ ซึ่งผมขับรถผ่านตอนกลับบ้านพอดี
วัดไม่ได้อยู่เขตบางซื่อนะครับ แต่อยู่ตำบลบางกระสอ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี
แล้วทำไมชื่อวัดกลางบางซื่อละ ผมมีเฉลยอยู่ข้างท้าย ตามอ่านกันนะครับ

แต่ก่อนอื่นขอนำเสนอเรื่องราวของวันมาฆบูชากันก่อนครับ
สำหรับวันมาฆบูชานี้ก็เป็นวันสำคัญคือ (ข้างล่างนี้ได้จากเวบ Wiki ครับ)

วันมาฆบูชา (บาลี: มาฆปูชา; อักษรโรมัน: Magha Puja) เป็นวันสำคัญของชาวพุทธเถรวาทและวันหยุดราชการในประเทศไทย "มาฆบูชา" ย่อมาจาก "มาฆปูรณมีบูชา" หมายถึง การบูชาในวันเพ็ญกลางเดือนมาฆะตามปฏิทินของอินเดีย หรือเดือน 3 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย (ตกช่วงเดือนกุมภาพันธ์หรือมีนาคม) ถ้าปีใดมีเดือนอธิกมาส คือ มีเดือน 8 สองหน (ปีอธิกมาส) ก็เลื่อนไปทำในวันเพ็ญเดือน 3 หลัง (วันเพ็ญเดือน 4)
วันมาฆบูชาได้รับการยกย่องเป็นวันสำคัญทางศานาพุทธ เนื่องจากเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นเมื่อ 2,500 กว่าปีก่อน คือ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ท่ามกลางที่ประชุมมหาสังฆสันนิบาตครั้งใหญ่ในพระพุทธศาสนา โดยมีเหตุการณ์เกิดขึ้นพร้อมกัน 4 ประการ คือ พระสงฆ์สาวก 1,250 รูปได้มาประชุมพร้อมกันยังวัดเวฬุวันโดยมิได้นัดหมาย, พระสงฆ์ที่มาประชุมทั้งหมดเป็น "เอหิภิกขุอุปสัมปทา" หรือผู้ได้รับการอุปสมบทจากพระพุทธเจ้าโดยตรง, พระสงฆ์ที่มาประชุมล้วนเป็นพระอรหันต์ผู้ทรงอภิญญา 6, และวันดังกล่าวตรงกับวันเพ็ญมาฆปุรณมีดิถี ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ดังนั้น จึงเรียกวันนี้อีกอย่างหนึ่งว่า "วันจาตุรงคสันนิบาต" หรือ วันที่มีการประชุมพร้อมด้วยองค์ 4
เดิมนั้นไม่มีพิธีมาฆบูชาในประเทศพุทธเถรวาท จนมาในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) พระองค์ได้ทรงปรารภถึงเหตุการณ์ครั้งพุทธกาลในวันเพ็ญเดือน 3 ดังกล่าวว่า เป็นวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญยิ่ง ควรประกอบพิธีทางพระพุทธศาสนา เพื่อเป็นที่ตั้งแห่งความศรัทธาเลื่อมใส จึงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชกุศลมาฆบูชาขึ้น การประกอบพระราชพิธีคงคล้ายกับวันวิสาขบูชา คือ มีการบำเพ็ญพระราชกุศลต่าง ๆ และมีการพระราชทานจุดเทียนตามประทีปเป็นพุทธบูชาในวัดพระศรีรัตนศาสดารามและพระอารามหลวงต่าง ๆ เป็นต้น ในช่วงแรก พิธีมาฆบูชาคงเป็นการพระราชพิธีภายใน ยังไม่แพร่หลายทั่วไป ต่อมา ความนิยมจัดพิธีมาฆบูชาจึงได้ขยายออกไปทั่วราชอาณาจักร
ปัจจุบัน วันมาฆบูชาได้รับการประกาศให้เป็นวันหยุดราชการในประเทศไทย โดยพุทธศาสนิกชนทั้งพระบรมวงศานุวงศ์ พระสงฆ์และประชาชนประกอบพิธีต่าง ๆ เช่น การตักบาตร การฟังพระธรรมเทศนา การเวียนเทียน เป็นต้น เพื่อบูชารำลึกถึงพระรัตนตรัยและเหตุการณ์สำคัญดังกล่าวที่ถือได้ว่า เป็นวันที่พระพุทธเจ้าประทานโอวาทปาฏิโมกข์ ซึ่งกล่าวถึงหลักคำสอนอันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ได้แก่ การไม่ทำความชั่วทั้งปวง การบำเพ็ญความดีให้ถึงพร้อม และการทำจิตของตนให้ผ่องใส เพื่อเป็นหลักปฏิบัติของพุทธศาสนิกชนทั้งมวล



มีคำถามในใจอยู่หนึ่งเรื่องคือ ทำไมวัดส่วนใหญ่ จึงเวียนเทียนกันตอนเย็น และทำไมต้องเวียนขวา

คำตอบเรื่องเวียนทางขวา ผมค้นเจอในเวบ
http://teen.mthai.com/variety/55900.html บอกไว้ดังนี้
ความจริงการเวียนเทียนนั้น? มีทั้ง การเวียนขวาซึ่งเรียกว่า ทักษิณาวรรต หรือ ประทักษิณ และ การเวียนซ้ายซึ่งเรียกว่า อุตราวรรต แต่เป็น คติ?ความเชื่อแต่โบราณว่าขวาเป็นมงคล? ซ้ายเป็นอวมงคล
ดังนั้นจึงนิยมเวียนเทียนในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ต้องเวียนเทียนด้านขวาก็เพราะทิศเบื้องขวาคือทิศ ครูบาอาจารย์?เราเวียนขวาก็เพื่อแสดงออกว่าเรายอมรับพระรัตนไตรเป็นที่ที่พึ่งที่ระลึกยอมรับพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์? ครู ของเรา?เป็นเครื่องหมายแสดงถึงความเคารพต่อบุคคล สิ่งหรือสถานที่นั้น ๆ อย่างสูงสุด
การเวียนเทียนทางซ้าย
การเวียนซ้าย หรืออุตราวรรต? นิยมใช้ในงานอวมงคล
เช่น งานศพ การนำโลงศพเวียนซ้ายรอบจิตกาธานอันเป็นการลาลับโลกนี้ไป หรือใช้ในพิธีถอนในวิชาไสยศาสตร์

สรุปคือ เป็นเรื่องของความเชื่อว่าเวียนทางขวาเป็นเรื่องมงคล

ส่วนเรื่องเวียนเทียนตอนเย็นหรือหัวค่ำ เท่าที่ค้นหา
ไม่พบว่ามีที่มาที่ไปตามหลักความเชื่อใดๆ แต่เป็นเพราะเป็นเวลาสะดวก หลังเลิกงาน
คนส่วนใหญ่จะสามารถมาเวียนเทียนพร้อมกันในเวลาเย็นได้ และอีกอย่างการจุดเทียนตอนหัวค่ำ
จะได้แสงเทียนสวยงามด้วย
ส่วนที่ผมคิดอีกอย่างคือ ก็เป็นเวลาหลังพระทำวัตรเย็นด้วย ถือว่าพอดีกันทุกฝ่าย

ส่วนวัดที่มักจะเวียนเทียนเวลากลางวันก็มีเช่นกัน
โดยช่วงนี้จะเป็นวัดที่สามจังหวัดชายแดนใต้ เพราะมีสถานการณ์ไม่ปกติ จำเป็นต้องจัดกันตอนกลางวัน


ประวัติวัดจากหน้าเวบ
http://watklangbangsue.blogspot.com/p/blog-page.html
มีดังนี้

 วัดกลางบางซื่อ ตั้งอยู่เลขที่ ๑๙๓ หมู่ที่ ๖ ถนนนนทบุรี ๑ ตำบลบางกระสอ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี  สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย  มีที่ดินตั้งวัด  เนื้อที่ ๑๔ ไร่ ๒ งาน ๙๔ ตารางวา
พื้นที่ ตั้งวัด  เป็นที่ราบลุ่ม  บริเวณรอบวัดเป็นหมู่บ้าน  บริเวณไกลออกไปเป็นสวน อยู่ติดริมคลองบางซื่อ  ซึ่งไหลผ่านทางด้านทิศใต้  มีถนนนนทบุรี ๑ ผ่านหน้าวัดทางด้านทิศตะวันออก  อุโบสถหันหน้าไปทางด้านทิศตะวันตก 
       จากหลักฐานเท่าที่สามารถค้นพบระบุไว้ว่าวัดกลางบางซื่อ สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๓๑๒ เป็นที่น่าสังเกตุว่าในระแวกเดียวกันยังมีวัดท้ายเมืองอีกหนึ่งวัด จึงสันนิษฐานว่า น่าจะมีวัดหัวเมืองอีกวัดหนึ่ง (ปัจจุบันคือโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า) วัดนี้อยู่ตรงกลางระหว่างวัดหัวเมืองและวัดท้ายเมืองจึงได้ชื่อว่าวัดกลาง ส่วนคำว่า "บางซื่อ"  เนื่องมาจากว่าวัดนี้อยู่ติดริมคลองบางซื่อ ประชาชนจึงนำคำว่า บางซื่อมาต่อเป็นชื่อวัด นับจากนั้นก็เรียกกันติดปากมาจนถึงทุกวันนี้
โดยทางวัดได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมือประมาณปี พ.ศ.๒๔๘๔

อ่านเสร็จก็เลยถึงบางอ้อว่า ทำไมถึงชื่อวัดกลางบางซื่อ ทั้งๆที่ไม่ได้อยู่เขตบางซื่อ ^_^

พิกัดร้านครับ
13.861152, 100.482057

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น