วันนี้ระหว่างนั่งรอรถที่ป้ายเพื่อไปทำงาน
สังเกตุเห็นโครงหลังคาเต็มไปด้วยร่องรอยขาวๆ
พอมองดีๆ ก็เห็นนกกระจอกบินไปมา เกาะตามโครงหลังคา
ก็เข้าใจทันทีว่า คราบขาวๆที่เห็น คืออึของนกนั่นเอง
ทำให้นึกสงสัยว่า แล้วต้องมีนกกี่ตัวกัน ถึงมาถ่ายได้เป็นคราบเต็มไปหมดขนาดนั้น
คิดไปคิดมา นกกระจอกนี่ ดูเหมือนจะมีมากกว่าหนูซะอีกนะนี่
รูปนี้จาก http://commons.wikimedia.org/wiki/File:Tree_Sparrow_Japan_Flip.jpg
แล้วก็คิดไปถึงว่า แล้วนกตัวเล็กๆตัวนึง มันมีวงจรชีวิตยังไงนะ
ระหว่างนั่งรถไป มีเวลา จึงได้ค้นข้อมูลเกี่ยวกับ นกกระจอกดู
ก็น่าสนใจดีไม่ใช่น้อยครับ
รายละเอียดด้านล่างนี้ได้จาก http://th.wikipedia.org/wiki/นกกระจอกบ้าน
นกกระจอกบ้าน (อังกฤษ: Eurasian Tree Sparrow) เป็นนกเกาะคอนในวงศ์นกกระจอก มีสีน้ำตาลเข้มที่กระหม่อนและหลังคอ แก้มสีขาวมีจุดดำบนแก้มแต่ละข้าง นกกระจอกทั้งสองเพศมีชุดขนคล้ายกัน นกวัยอ่อนมีสีขนจืดกว่านกที่โตเต็มที่ นกชนิดนี้มีการกระจายพันธุ์เกือบทั้งทวีปยูเรเชียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งรู้จักกันในชื่อ Tree Sparrow (นกกระจอกต้นไม้) และมันถูกนำไปสู่ที่อื่นๆ รวมถึง สหรัฐอเมริกา ซึ่งรู้จักกันในชื่อ Eurasian Tree Sparrow (นกกระจอกต้นไม้ยูเรเชีย) หรือ German Sparrow (นกกระจอกเยอรมัน) ต่างไปจากนกพื้นเมือง นกกระจอกต้นไม้อเมริกา (American Tree Sparrow) แม้ว่าจะมีหลายชนิดย่อยที่ได้รับการยอมรับ แต่ลักษณะที่ปรากฏของนกแตกต่างกันเพียงเล็กน้อยตลอดแนวการกระจายพันธุ์ที่กว้างขวาง
นกกระจอกบ้านทำรังไม่เป็นระเบียบในโพรงธรรมชาติ รูในอาคาร หรือรังขนาดใหญ่ของนกสาลิกาปากดำหรือนกกระสาขาว นกจะวางไข่คราวหนึ่งห้าถึงหกฟอง ไข่จะฟักเป็นตัวภายในสองอาทิตย์ นกกินเมล็ดพืชเป็นอาหารหลัก แต่บางครั้งจะกินสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังเป็นอาหาร โดยเฉพาะช่วงฤดูผสมพันธุ์ นกกระจอกบ้านเหมือนกับนกขนาดเล็กทั่วไปซึ่งอาจเสียชีวิตจากการติดเชื้อจากปรสิต โรคภัยไข้เจ็บ และถูกล่าโดยนกล่าเหยื่อ ทำให้โดยทั่วไปมีช่วงชีวิตประมาณสองปี
จากรูปด้านล่าง จะเห็นว่านกกระจอกนี่ แพร่หลายมาก อยู่ไปทั่วแทบทุกที่เลย
ส่วนสีเหลืองและฟ้า คือ ที่อยู่ของนกแบบย้ายถิ่นไปมา
ส่วนสีเขียวคือ เกิด โต และสืบพันธุ์ที่นั่นเลย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น